อาจารย์สิทธิพร   เนตรนิยม

ตำแหน่ง : นักปฏิบัติการวิจัย
วัน/เดือน/ปีเกิด : 22  พฤษภาคม  2516
สถานที่ติดต่อ  :  สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม 73170 


ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2545      ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2558      ศิลปะบัณฑิต ศิลปะไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผลงานวิชาการ
พ.ศ. 2546    งานประดับกระจกในมัณฑเลย์ : ภาพสะท้อนความสัมพันธ์และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมพม่า ระหว่างสมัยราชวงศ์คองบองตอนปลายถึงสิ้นสมัยอาณานิคม
(พ.ศ.2360 – 2491)  รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2546
พ.ศ. 2559    “ เข็มขัดรัดองค์ระฆังเจดีย์ ในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นใน ”  ศิลปนิพนธ์ระดับปริญญาตรี คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


งานวิจัย

พ.ศ. 2557     “ เสริมสร้างสมรรถนะทางวัฒนธรรมเพื่อสุขภาวะของแรงงานข้ามชาติ ”  (ร่วมคณะวิจัยทุน สสส.)
พ.ศ. 2550     อิทธิพลวัฒนธรรมพม่าที่ปรากฏในบทขับร้องและทำนองเพลงที่ใช้ในการแสดงชุดฟ้อนม่านมุยเซียงตา : ศึกษาและวิเคราะห์เฉพาะกรณีประวัติความหมาย และโครงสร้างของบทเพลง (ทุนสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
พ.ศ. 2548     พระธาตุ : กุศลลักข์ในพุทธศาสนา หมุดหมายทางภูมิศาสตร์ในอุดมคติถึงเครือข่ายชุมชนล้านนาในแอ่งที่ราบเชียงใหม่ ลำพูน (โครงการวิจัยย่อย ทุนเมธีวิจัยอาวุโส และทุนสนับสนุนฝ่ายชุมชนและสังคม สกว.)


บทความวิชาการ และสารคดี
พ.ศ. 2560    “ พระราชพิธีพระบรมศพพม่าและไทย ” หนังสือรวมบทความโครงการหนังสืองานพระบรมศพในรัชกาลที่ 9
พ.ศ. 2559    “ ด่ะจาน : สงกรานต์พม่า เทศกาลเปลี่ยนผ่าน วิถีเกษตร กับความหวังของผู้คน ” หนังสือรวมบทความประกอบการเสวนาเรื่อง สาดน้ำสงกรานต์วัฒนธรรมร่วมรากเอเซีย, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับฝ่ายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2558     “ ตะซาวง์ไดง์ จุดไฟตามประทีปในพม่า ” หนังสือประกอบการเสวนาเรื่อง ลอยกระทง เรือพระราชพิธีวัฒนธรรมน้ำร่วมราก, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับฝ่ายวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2558    “ ตัวตนคนทวาย ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพะยาจี ” (เสนอการประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ พิ(ศ)พิธภัณฑ์ Museum Refocused 3-4 กันยายน 2558)
พ.ศ. 2558     “ Man Mui Zhiang Ta: Burmese Dance in Thailand – Origin,Meaning,and Lyrics ” (International Conference on Burma/Myanmar
Studies,Burma/Myanmar in Transition:Connectivity, Changes and Challenges,24-26 July 2015 Chiang Mai University)
พ.ศ. 2557     “ นัตโกจีจ่อ : จากเพลงรำผี สู่เวทีเพลงป๊อบ ” (เสนอการประชุมวิชาการระดับชาติ วัฒนธรรมสมัยนิยม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล)
พ.ศ. 2556      “ อิเหนาพม่า : จากวรรณคดี สู่นาฏกรรม ” (เสนองานสัมมนา วรรณคดีอิเหนา มรดกไทย มรดกร่วมในวัฒนธรรมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ SEAMEO SPAFA)
พ.ศ. 2552       “ ม่านมุยเซียงตา นาฏกรรมล้านนา สู่ภาพสะท้อนเรื่องพม่าศึกษาในสังคมไทย ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ” (เสนอการประชุมระดับชาติ ศิลปศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงครั้งที่ 1)
พ.ศ. 2550       สงกรานต์ กษัตริย์และเกษตร เทศกาลเปลี่ยนผ่านแห่งช่วงเวลาตามนัยวัฒนธรรมพม่า (จดหมายข่าว ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ปีที่ 9 ฉบับที่ 49 เมษายน-พฤษภาคม 2550)
พ.ศ. 2549      “ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีกับการดนตรีไทย ” (เอกสารประกอบนิทรรศการงานพระราชชายาเจ้าดารารัศมีกับงานสังคีตศิลป์ ณ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักเจ้าดาราภิรมย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 26 สิงหาคม 2549)
พ.ศ. 2545       “ เมียวดี : สังเขปประวัติศาสตร์และตำนานท้องถิ่นที่น่าสนใจในชายแดนพม่า ” (วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 27 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2544)


ประวัติด้านการบรรยาย/วิทยากร
พ.ศ. 2560       “ 250 ปีแห่งวาทะกรรมพม่าเผาเมือง การก้าวผ่านประวัติศาสตร์บาดแผลสู่การสร้างทัศนะคติที่ดี ” วิทยากรร่วมงานเสวนา 250 ปี ปัจฉิมกาลกรุงศรีอยุธยา : ปริวรรตบทเรียน เพื่อสร้างสรรอนาคต ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 24 มีนาคม 2560
พ.ศ. 2558       “ ตัวตนคนทวาย ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพะยาจี ” ในการประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ พิ(ศ)พิธภัณฑ์ Museum Refocused  4 กันยายน 2558
พ.ศ. 2556       “ อิเหนาพม่า: จากวรรณคดีสู่นาฏกรรม ” ในงานเสวนา อิเหนา : มรดกไทยมรดกร่วมในวัฒนธรรมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จัดโดยศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ SPAFA

Scroll to Top